Subscribe:

DekvanzClub

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติPierre de Fermat สุดยอดนักคณิตศาสตร์


Pierre de Fermat (17 สิงหาคม 2144 - 12 มกราคม 2207) เป็นทนายความชาวฝรั่งเศส และเป็นนักคณิตศาสตร์ผู้พัฒนาสาขาแคลคูลัส แฟร์มาต์ยังมีผลงานในด้านทฤษฎีจำนวน เรขาคณิตวิเคราะห์ และความน่าจะเป็น

แฟร์ มาต์เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์ ซึ่งเขาอ้างว่ามีบทพิสูจน์ของทฤษฎีดังกล่าว แต่ไม่มีใครพบหลักฐานใดๆเกี่ยวกับบทพิสูจน์ หลังจากที่เขาเสียชีวิต นักคณิตศาสตร์หลายคนพยายามพิสูจน์ทฤษฎีบทนั้น แต่ก็ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้มานานกว่า 300 ปี จนกระทั่ง แอนดรูว์ ไวลส์ สามารถพิสูจน์ได้ในปี พ.ศ. 2538


Andrew Wiles ผู้พิชิตทฤษฏีบทสุดท้ายของ Fermat โจทย์คณิตศาสตร์ที่(เคย)ยากที่สุดในโลก     Pierre de Fermat เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีจำนวน (Number Theory) อันเป็นวิชาว่าด้วยตัวเลขจำนวนต่าง ๆ (เลขจำนวนเต็มได้แก่ 2,6.9,…)เขาถือกำเนิดเมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2144 ที่เมือง Beaument de Lomagne ประเทศฝรั่งเศส เขาทำงานเป็นทนายความและนักคณิตศาสตร์สมัครเล่น เขามีบทบาทในการพัฒนาการด้านสถิติและทฤษฎีความเป็นไปได้ (Probability theory) จนถึงระดับที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้วางรากฐานวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ให้ Issac Newton นำไปใช้ในการสร้างวิชาแคลคูลัสในระยะเวลาต่อมาอีกด้วย       ปี พ.ศ. 2180 เขาได้ตั้งโจทย์คณิตศาสตร์ขึ้นมาโจทย์หนึ่ง ซึ่งคนปัจจุบันรู้จักในนาม "ทฤษฎีบทสุดท้ายของ Fermat" หรือ "Fermat's Last Theorem" เขาได้ความคิดในการตั้งโจทย์ปัญหานี้จากการอ่านตำรา Arithmetica ของ Diophantus แห่งเมือง Alexandria ในอียิปต์ ซึ่งได้กล่าวถึงสมการของ Pythagoras แถลงว่า ถ้า a²+b²=c² โดย a และ b เป็นความยาวของด้านที่ประกอบมุมฉากของสามเหลี่ยมมุมฉาก และ c เป็นความยาวของด้านที่ตรงข้ามมุมฉาก เราจะพบว่าสมการนี้มีคำตอบสำหรับค่า a , bและ c เป็นเลขจำนวนเต็มนับไม่ถ้วน ทฤษฎีบทสุดท้ายของ Fermat จึงได้สยบสมองของอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ของทุกคนที่ผ่านมา แต่แล้วในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2536 นั้นเอง Andrew Wiles แห่ง มหาวิทยาลัย Princeton สหรัฐอเมริกา ก็ได้แถลงว่าเขาได้ประสบความสำเร็จในการพิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของ Fermat แล้วข่าวมโหฬารนี้ถึงกับทำให้หนังสือพิมพ์ The New York Times พาดหัวตัวโตด้วยคำว่า "Euraka" เพื่อสดุดีความสำเร็จของ Wiles เลยทีเดียว แต่เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินวิธพิสูจน์ของ Wiles และพบจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุงใหม่ เขารู้สึกเสมือนว่าข้อตำหนิที่ได้รับเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ได้เคยทำลายชีวิต ของนักคณิตศาสตร์มาแล้วนับไม่ถ้วน มาบัดนี้ชีวิตการทำงานของเขาก็ได้สิ้นสุดลงเช่นกัน Wiles รู้สึกหดหู่และท้อแท้มาก แต่ก็ได้รวบรวมพลังความคิดและกำลังใจกับลูกศิษย์ที่ชื่อ R.Taylor ฮึดสู้กับปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งและแล้วในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2537 Wiles และ Taylor ก็ประสบผลสำเร็จ ผลงานได้ตีพิมพ์ลงวารสาร Annals of Mathematics ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538 ทฤษฏีบทสุดท้ายของ Fermat โจทย์คณิตที่ยากที่สุดในโลก นิดนึงครับ             คือ คนคนนี้เขาเป็นคนตั้งทฤษฎีออกมาว่า จะมีเพียงแค่ a^2 + b^2 = c^2 เท่านั้น เลขที่ไม่ใช่2 ยกเว้น 1 ให้ยกกำลังให้ตายไปข้างนึง จับมาบวกกันก็ไม่ได้ เท่ากับ อีกจำนวนยกกำลังเลขนั้นหรอก   อย่างเช่น a^1000+b^1000 ไม่มีทางที่จะหาเลข c^1000 ได้ งงป่าวครับ  ขนาดคนเอามายังงงเลย อย่าง 3^2 + 4^2 = 5^2 แต่ท่าเลขชุดนี้ยกกำลังอย่างอื่น(ยกเว้นเลข1) ก็จะไม่มีทางเท่ากัน เฟเมอร์ตั้งทฤษฎีนี้ขึ้นมา แต่เวลาผ่านไปเป็นหลาย 10 ปี ก็ไม่มีใครพิสูจน์ได้ จนถึงกับมีนักคณิตศาสตร์คนนึงบอกว่า ตั้งโจทย์ให้คนอื่นคิดยากๆ ตัวเขาเองก็ทำได้วะ   มีอีกคนพิสูจน์ได้แล้ว แต่พอเอาไปให้ที่ประชุมดู กลับพบว่ามีข้อผิดพลาดเยอะ จนต้องนำกลับไปแก้ใหม่   และในที่สุดก็มีคนพิสูจน์ได้ แค่ทฤษฎีบนนี้ พิสูจน์ได้เป็นหนังสือ1เล่มที่มีขนาดเป็น100หน้าเลยละ             จนบัดนี้ นักคณิตศาสตร์สมัยนี้ทั้งโลก ยังมีไม่ถึง10คนที่จะเข้าใจการพิสูจน์ของเขา


Pierre de Fermat

English version

 Pierre de Fermat (French pronunciation: [pjɛːʁ dəfɛʁˈma]; 17 August 1601 or 1607/8 – 12 January 1665) was a French lawyer at the Parlement of Toulouse, France, and an amateur mathematician who is given credit for early developments that led to infinitesimal calculus, including his adequality. In particular, he is recognized for his discovery of an original method of finding the greatest and the smallest ordinates of curved lines, which is analogous to that of the then unknown differential calculus, as well as his research into number theory. He made notable contributions to analytic geometry, probability, and optics. He is best known for Fermat's Last Theorem, which he described in a note at the margin of a copy of Diophantus' Arithmetica.




Place of burial of Pierre de Fermat in Place Jean Jaurés, Castres, France. Translation of the plaque: in this place was buried on January 13, 1665, Pierre de Fermat, councilor of the chamber of Edit and mathematician of great renown, celebrated for his theorem (sic),
an + bn ≠ cn for n>2


Holographic will handwritten by Fermat on 4 March 1660 — kept at the Departmental Archives of Haute-Garonne, in Toulouse

ที่มา : konseo.com

จากลิงค์ http://www.dekvanzclub.in.th/smf/?topic=10534.msg12168;topicseen#msg12168

Credit : รูปโคโยตี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น