Subscribe:

DekvanzClub

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บารากุ ความหอมหวลเปื้อนยาพิษ

จากโทษที่อันตรายของบารากุนั้นจึงส่งผลให้เกิดการผลักดันออกกฎหมายควบคุมยาสูบชนิดนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท แต่จากการสำรวจกลับพบว่าบารากุก็ยังมีขายตามสถาานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืนอย่างเปิดเผย


ปัญหาเรื่องยาเสพติดยังมีการแพร่ระบาดอย่างไม่หยุดหย่อน ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พยายามกวาดล้างกันอยู่ แต่ใช่ว่าจะหมดในเร็ววัน อีกทั้งตอนนี้ยังมียาสูบชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นทั้งชายและหญิง เป็นชื่อที่รู้จักกันดีว่า "บารากุ" ด้วยความที่มีกลิ่นหอมหวานของผลไม้และความเชื่อที่ว่าช่วยล้างพิษ รวมถึงชูกำลังก็ยิ่งทำให้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว

ทุกวันนี้ท่ามกลางแสงสียามค่ำคืนของหมู่วัยรุ่น...มันคลุ้งเคล้าไปด้วยควันสีเทาส่งกลิ่นเหมือนผลไม้..มันไม่ใช่บุหรี่แต่มันเลวร้ายกว่าบุหรี่ หนุ่มสาววัยรุ่นนิยมสูบด้วยการซื้อตัวบารากุมาก่อน 1 เตา จากนั้นก็ใส่ตัวยาใส่ลงไปในโถเล็กๆ อยู่ด้านบนของเตา ใส่ถ่านวิทยาศาสตร์ก้อนเล็กๆ ซึ่งเมื่อตัวยาได้รับการเผาไหม้แล้ว นักสูบก็จะเอาท่อใส่ไปในปากแล้วดูดควันเข้ามา จากนั้นก็พ่นออกมาทางจมูก เรียกว่าเข้าไปในปอดเต็มๆ

นักศึกษาชายมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเผยว่า เมื่อได้สูบบารากุจะรู้สึกโล่งเหมือนสูบบุหรี่ และมีรสหวานติดที่ริมฝีปาก แต่หลังจากนั้นประมาณ 20-30 นาที จะรู้สึกมึนงง และยังบอกอีกว่าเพื่อนคนหนึ่งกินเหล้าและสูบบารากุไปด้วย พออาเจียนออกมาจะมีสีดำๆ คล้ายเขม่าควันปนออกมา ในแต่ละครั้งทางร้านสนนราคาเตาละประมาณ 200-350 บาท ขึ้นอยู่กับตัวยาและสถานที่ตั้งของร้าน


ท่อสำหรับสูบ

น.ส.เอ (นามสมมุติ) เล่าว่า การที่บารากุแพร่หลายและเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นนั้น เป็นเพราะกระแสนิยมมากกว่า ซึ่งหากลองครั้งสองครั้งไม่ทำให้ติด แต่หากสูบติดต่อกันเป็นระยะเวลานานประมาณ 1 เดือน ก็จะเริ่มติด ส่วนอาการเวลาอยากบารากุก็จะกระสับกระส่าย แต่ไม่มากนัก คิดอะไรไม่ออก คนที่ติดส่วนใหญ่มักจะคิดว่าดีกว่าติดบุหรี่ และเห็นว่าคงไม่มีอันตรายใดๆ เพราะไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนบุหรี่ เมื่อถามถึงปัญหาที่ว่ามีการนำยาเสพติดอย่างเช่น กัญชาหรือสิ่งเสพติดชนิดอื่นใส่ลงไปหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ มี แต่เอาไว้โรยหน้าผสมกับบารากุ เพื่อให้ได้ความหอมหวานด้วย ส่วนเรื่องร้านที่เปิดเพื่อให้บริการบารากุโดยเฉพาะนั้น คงได้รับอิทธิพลมาจากงานเทศกาลของศาสนาอิสลามที่ชื่อว่างานเทศกาลเมาลิดกลาง ซึ่งภายในงานเปิดบริการเป็นซุ้มเพื่อสูบบารากุ


เตาบารากุ

จากโทษที่อันตรายของบารากุนั้นจึงส่งผลให้เกิดการผลักดันออกกฎหมายควบคุมยาสูบชนิดนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท แต่จากการสำรวจกลับพบว่าบารากุก็ยังมีขายตามสถาานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืนอย่างเปิดเผย กลุ่มคนส่วนใหญ่จะเป็นเด็กมหาวิทยาลัยจนถึงวัยทำงาน รวมถึงเด็กมัธยมปลายปะปนอยู่ด้วย จึงทำให้สงสัยว่าการดูแลและการกวดขันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ตรงไหน การประชาสัมพันธ์ถึงพิษภัยของบารากุมีหรือไม่ อย่าปล่อยให้ตะกอนเล็กๆ ทับถมกันเป็นเวลานาน มิเช่นนั้นอาจเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากเฉกเช่นปัญหาการสูบบุหรี่


บุหรี่ว่าร้ายแล้ว.บารากุร้ายกว่า

นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานส่งเสริมสถาบันสุขภาพไทย และประธานภาคีกฎหมายบุหรี่โลก ขององค์กรอนามัยโลกเผยว่า การสูบบารากุ 1 ห่อ เท่ากับการสูบบุหรี่ 20 มวน นพ.หทัยเผยอีกว่า อาการแสบคอและมึนงง เกิดจากการที่ผู้สูบสูดก๊าซพิษคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป โดยต้นตอของก๊าซมาจากใบยาสูบที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของตัวยาบารากุ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งไม่น้อยไปกว่าการสูบบุหรี่ เนื่องจากมีสารนิโคติน และยังพบว่าการสูบบารากุนานถึง 45 นาที จะผลิตสารน้ำมันดิน (ทาร์) มากกว่าการสูบบุหรี่ 5 นาที ถึง 36 เท่า

แม้ว่าบารากุจะประกอบด้วยเปลือกผลไม้ ซึ่งดูเหมือนจะปลอดภัย แต่การสูบแต่ละครั้งนั้น เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดต่างๆ อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งไต
ด่วน! เรียนป.ตรี/ป.โท 1 ปีจบได้
สกอ.กพ.กระทรวงศึกษาธิการรับรอง เรียนเฉพาะเสาร์ - อาทิตย์ 02-3146339

ที่มา : ices.co.th

จากลิงค์ http://www.dekvanzclub.in.th/smf/?topic=10489.msg12118;topicseen#msg12118

Credit : คลิปโคโยตี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น