Subscribe:

DekvanzClub

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เอทานอล และไบโอดีเซล ยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน

จากภาวะความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ราคาน้ำมันใน ตลาดโลกขยับตัวสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องโดยประเทศไทย มีการนำเข้าน้ำมันถึงร้อยละ 60 ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด ในปี 2547 มีการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่า 4 แสนล้านบาท โดยคาดว่าปี 2548 จะสูงถึง 5 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับรายได้จากการส่งออกพืชผลเกษตรที่เป็นสินค้าหลัก ปีละประมาณ 8 แสนล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเราต้องเสียเงินตราเพื่อนำเข้าน้ำมันมากกว่าครึ่งหนึ่งของราย ได้จากส่งออกสินค้าเกษตรหลัก ..การเผชิญหน้ากับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและการถีบตัวของราคา น้ำมันไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ล้วนเป็นวิกฤติของผู้ใช้น้ำมันในภูมิภาคเอเซีย

  นพ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า “ไทยและประเทศในภูมิภาคเอเซียมีความจำเป็น เร่งด่วนในการปรับนโยบายพลังงานของประเทศ เพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนจัดหาน้ำมันราคาถูกและปลอดภัย ต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์เชิงรุกในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงและการขาดแคลนพลังงาน มากกว่าเป็นการตั้งรับกับปัญหา

  การจัดการประชุมนานาชาติ The Conference on BIOFUEL : hallenges for Asian Future เกี่ยวกับการ พัฒนาพลังงานทดแทนด้านน้ำมันชีวภาพ ของกลุ่มประเทศอาเชียน 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งบราซิลเยอรมัน และออสเตรเลีย รวม 16 ประเทศ จะมีขึ้นในวันที่ 30-31 สิงหาคม 2547 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์จึงเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของประเทศใน ภูมิภาคเอเซีย เพื่อกำหนดและผลักดันยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาและจัด หาพลังงานทดแทนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ให้เป็นไปในทิศทางเดียว กัน โดยมีประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาพลังงานทดแทน แล้ว เช่น เยอรมัน บราซิล ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ จากบราซิล ได้แก่ H.E.Roberto Rodringues, Minister of Agriculture of the Federal Republic of Brazil. จากเยอรมัน H.E. Matthias Berninger, Vice Minister, Federal Ministry of Consumer Protection, Food and Agriculture,Federal Republic of German

  ทั้งนี้เพื่อร่วมถ่ายทอดประสบการณ์แก่ผู้เข้าประชุมสัมมนาครั้งนี้โดยได้นำ เทคโนโลยี ด้านน้ำมัน ชีวภาพ อาทิรถยนต์ที่พัฒนา เครื่องยนต์ใช้กับไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ มาร่วมแสดงในงานด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจาก 16 ประเทศ ประมาณ 300 คน
  การประชุมครั้งนี้ยังเป็นเวทีการพบปะ เจรจาระดับรัฐมนตรีพลังงานและผู้เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อเสนอแนวทาง แก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า การลงทุน เช่น กฎระเบียบต่างๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานทดแทนให้ก้าวหน้าขึ้น โดยการจัดประชุมครั้งนี้เป็นความร่วม มือจากกระทรวงต่างๆ อาทิ กระทรวงพลังงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวง อุตสาหกรรม นพ.พรหมินทร์ กล่าว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล คือ พลังงานทดแทนของไทย

  น้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นส่วนผสมระหว่างเอทานอลบริสุทธิ์ : เบนซิล ออกเทน ในสัดส่วน 10 : 90 จะได้แก๊สโซฮอล์ 95 ซึ่งเริ่มวิจัย ทดลองครั้งแรกตั้งแต่ปี 2528 โดยโครงการส่วนประองค์ ส่วนไบโอดีเซล เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่วเหลืองผสมกับอลกอฮอล์ โดยผ่านกระบวนการทางเคมีเป็นเอสเตอร์ ที่เราเรียกว่าน้ำมันไบโอดีเซล ขณะที่การพัฒนาไบโอดีเซลอยู่ในขั้นตอนของการค้นคว้าวิจัยของกระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กองทัพเรือ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อผลิตให้ได้คุณภาพเชิงพาณิชย์
  นพ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ยังกล่าวว่าในปัจจุบัน กระทรวงพลังงานมีแผนยุทธศาสตร์ใช้แก๊สโซฮอล์ตามมติคณะรัฐมนตรี 9 ธันวาคม 2546 กำหนดให้ยกเลิกใช้สาร MTBE ในเบนซิล 95 ในปี 2549 และใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ในบางพื้นที่ และมติคณะรัฐมนตรี 18 พฤษภาคม 2547 ปี 2549 จะมีการใช้แก๊สโซฮอล์95 ทั่วประเทศมีความต้องการใช้เอทานอลไม่น้อยกว่าวันละ 1 ล้านลิตร/วัน และในปี 2554 มีเป้าหมายใช้เอทานอลถึงวันละ 3 ล้านลิตร นพ. พรหมินทร์ กล่าว

  สถิติการใช้พลังงานของไทย เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ภาคขนส่งใช้พลังงาน ร้อยละ 37 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 36 ภาคครัวเรือนร้อยละ 21 แต่ปัจจุบันมีการใช้พลังงานทดแทนแทนน้ำมันเชื้อเพลิงเพียง ร้อยละ 0.5 ของความ ต้องการใช้พลังงานทั้งหมด ในอีก 8 ปีข้างหน้าจะเพิ่มสัดส่วนเป็นร้อยละ 8 หากมีการพัฒนาอย่างจริงจังจะสามารถลดการ นำเข้าพลังงานได้ถึงปีละ 35,000 ล้านบาท
  จะเห็นได้ว่าการขนส่งเป็นภาคธุรกิจที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากที่สุด นโยบายของรัฐบาล จึงมุ่งที่จะนำพลังงานทดแทนมาใช้ ในภาคการขนส่งเป็นหลัก ซึ่งจะก่อให้เกิดการปรับตัวครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ พัฒนาเครื่องยนต์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น ศักยภาพของไทยในการพัฒนาเอทานอลและไบโอดีเซล
  มันสำปะหลัง อ้อยและน้ำตาล เป็นวัตถุดิบสำคัญที่จะป้อนอุตสาหกรรมเอทานอล ซึ่งแต่ละปีไทยสามารถผลิตและส่งออกได้เป็น อันดับต้นๆ ของโลก การขยายกำลังการผลิต ไทยก็มีพื้นที่จะขยายไปได้อีกมาก รวมถึงสามารถขยายพื้นที่ไปยัง ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เขมร ลาว พม่า ปัจจุบัน ไทยปลูกปาล์มน้ำ มันถึง 2 ล้านไร่ และมีการปลูกเพิ่มปีละประมาณ 400,000 ไร่ พื้นที่การปลูกปาล์มยังสามารถขยายได้อีก มากโดยใช้เวลาเพียง 3 ปี ก็ให้ผลผลิตได้ ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำได้

  จากยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่จะสร้างไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานและการขนส่ง ทางทะเล ของอาเซียน มีคลังน้ำมันขนาด ใหญ่ที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี มีโครงการสร้าง Land Bridge เชื่อมต่อกับประเทศต่างๆในภูมิภาค จะทำให้ ไทยมีความได้เปรียบด้านการลงทุนและได้รับความสนใจของนักลงทุนเป็นอย่างสูง
เอทานอล โอกาสการลงทุนของคนไทย

  จากปัจจัยหลายประการที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน รวมถึงการที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมอย่างชัดเจนจนกำหนด เป็นแผนยุทธศาสตร์ของชาติ ไทยมีความพร้อมด้านวัตถุดิบ และการได้รับความร่วมมือจากประเทศในภูมิภาค นักลงทุนไทยยังมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากการประชุมครั้ง นี้ การที่ไทยอยู่ใกล้ตลาดผู้ใช้พลังงานขนาดใหญ่เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งประเทศ ในแถบเอเซีย ซึ่งมีประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลก จึงเป็นโอกาสสำคัญของนักลงทุนของไทยในการผลิต พลังงานทดแทนเพื่อใช้ในประเทศและป้อนตลาดต่างประเทศ ปัจจุบันมีการลงทุนของภาคเอกชนไทยผลิตเอทานอลเพียงรายเดียว และมีกำลังการผลิตประมาณ 25,000 ลิตร/วัน และมีปั๊มให้บริการเอทานอล ประมาณ 250 แห่งจะเห็นว่าตลาด เอทานอลยังเติบโตได้อีกมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

ที่มา : phithan-toyota.com

จากลิ้ง http://www.dekvanzclub.in.th/smf/?topic=10177.msg11750;topicseen#msg11750

Credit : DekvanzClub

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น