การขับรถเกียรออโตนั้นควรเรียนรู้ว่าเกียรออโตถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ อะไร ทำไมถึงมีตำแหน่งเกียรเดินหน้าหลายตำแหน่ง แต่ละจุดใช้ในโอกาสแตกต่างกันอย่างไร
การขับรถเกียรออโตในภาวะปกติ กับภาวะรถติต ฝนตก เบรกกระทันหัน การขับรถขึ้นลงภูเขา ควรทำอย่างไร หากติดหล่มทำอย่างไร
ลองดูทั้งทางทฤษฎีและประสบการณ์ของผมดูครับ
อันดับแรกต้องรู้ว่าเกียรออโตมันเป็นอย่างไร จะใช้อย่างไรก่อน
1. เกียรออโตระบบการทำงานก็เหมือนกับเกียรธรรมดาแหละครับ เพียงแต่การเปลี่ยนเกียรก็มีระบบอิเล็กทรอนิกมาควบคุมแทนเรา
แต่ ในความเป็นจริงจะขับรถเกียรออโตแบบธรรมดาก็ขับได้ เพราะเกียรออโตถูกออกแบบมาให้สามารถขับได้ทั้งแบบธรรมดาและให้มันปรับเกีย รเองแบบอัต
โนมัติ
ทำความรู้จักกับมันก่อนครับ
เกียรออโตของ FD มีเกียร 1 , 2 , D3 , D ที่เป็นเกียรขับเดินหน้า ( R เป็นเกียรถอย และ P เป็นตำแหน่งจอดรถ รู้กันดีอยู่แล้ว)
เกียรออโตเกียร 1 ก็คือเกียร 1 ของเกียรแบบกระปุก (ธรรมดา)
เกียรออโตเกียร 2 ก็คือเกียร 2 ของเกียรแบบกระปุก (ธรรมดา)
เกียรรออโตเกียร D3 ก็คือเกียรกระปุก (ธรรมดา) ที่มีอัตราทด 1:1 โดยปกติก็คือเกียร 4
เกียรรออโตเกียร D ก็คือเกียรกระปุก (ธรรมดา) ที่มีอัตราทดต่ำกว่าหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่า โอเวอร์ไดรฟ์ โดยปกติก็คือเกียร 5 นั่นเอง
ดังนั้นเราสามารถขับรถเกียรออโตแบบ ออโตโหมด ก็ได้ หรือแบบแมนนัวลก็ได้
2. ขับรถเกียรออโตแบบ ออโตโหมด ท่านสามารถเลือกตำแหน่งเกียรไปที D , D3 หรือ 2 ได้ตามสภาพดังนี้
การ ขับแบบออโตโดยเลือกตำแหน่ง D หากสภาพถนนปกติ ทางเรียบ รถไม่ติด ฝนไม่ตก เมื่ออยู่ตำแหน่งนี้ รถจะเปลี่ยนเกียรเอง จากเกียร 1 => 2 => D3 ( 1:1 ) => D ( เกียร Over Drive เทียบเท่าเกียร 5)
การขับแบบออโต โดยเลือกตำแหน่ง D3 หากสภาพถนนเป็นทางชัน ทางขึ้นเขา ลงเขา รถติด ฝนตก เมื่ออยู่ตำแหน่งนี้ รถจะเปลี่ยนเกียรเอง จากเกียร 1 => 2 => D3 ( 1:1 ) เท่านั้น จะไม่ขึ้นไปเกียร Over Drive
ระบบโปรแกรมควบคุมจะสั่ง จ่ายน้ำมันเกียรไป ที่แผ่นคลัชมากกว่า ทำให้มีแรงบิดส่งไปมากกว่า รถมีกำลังขึ้นเขา ในขณะเดียวกันระบบเบรกก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ข้อควรรู้ระบบเบรกจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อเกียรต่ำลง
ในสภาพรถติด(ติดไม่มาก แบบพอเคลื่อนตัวได้) หากใช้ D3 จะควบคุมรถได้ง่ายขึ้น เบรกอยู่แน่นอน ไม่ชนตูดคันหน้า
ใน สภาพฝนตก ทำให้รถเสถียร เครื่องยนต์ส่งกำลังไปที่ล้อคลัชจับแน่นกว่า จังหวะการเปลี่ยนเกียรไปขั้นสูงขั้นต้องรอรอบมากกว่าตำแหน่ง D ไม่ทำให้รถไถลลื่น
การขับแบบออโตโดยเลือกตำแหน่ง 2 หากสภาพถนนเป็นทางชันมากๆ ทั้งทางขึ้นเขา ลงเขา รถติดมากๆ เลื่อนทีละหน่อย ๆ เมื่ออยู่ตำแหน่งนี้ รถจะเปลี่ยนเกียรเอง จากเกียร 1 => 2 เท่านั้น จะไม่ขึ้นไปเกียรที่สูงกว่า
ระบบโปรแกรมควบคุมจะสั่งจ่ายน้ำมันเกียรไป ที่แผ่นคลัชมากกว่าอีก ทำให้มีแรงบิดส่งไปมากกว่าอีก รถมีกำลังขึ้นเขามาก ในขณะเดียวกันระบบเบรกก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ลงเขาควบคุมรถได้สบาย (ข้อควรรู้ระบบเบรกจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อเกียรต่ำลง)
ในสภาพรถติดมากๆ เลื่อนที่ละหน่อย ๆ ๆ หากใช้ ตำแหน่ง 2 จะควบคุมรถได้อย่างดี เบรกอยู่ทุกครั้ง ไม่ชนตูดคันหน้าแน่นอน
ในสภาพฝนตกมากๆ ก็เช่นเดียวกัน
ข้อควรจำ
หากรถของท่านอยู่ในตำแหน่งที่จอดนิ่งอยู่ท่านสามารถเลื่อนคันเกียรไปตำแหน่ง D , D3 หรือ 2 ได้ หลังจากที่เหยียบเบรกแล้วตามปกติ
แต่หากรถท่านวิ่งด้วยความเร็วอยู่ท่านสามารถเปลี่ยนตำแหน่งเกียรได้ระหว่าง D กับ D3 เท่านั้น
หาก จะเลื่อนจาก D3ไปตำแหน่ง 2 แล้วต่อไป 1 ในกรณีเบรกแบบฉุกเฉิน ท่านต้องจงใจเปลี่ยนเท่านั้น โดยท่านต้องกดปุ่มที่คันเกียรแล้วเลื่อนลง
อีกกรณีหนึ่งคือทางลงเขาที่ชันมากๆ ท่านตัดสินใจเปลี่ยนเกียรต่ำลงจาก D3ไปตำแหน่ง 2 ท่านก็ต้องกดปุ่ม จึงจะเลื่อนได้
การ ขับแบบออโตก็คือการให้รถเปลี่ยนเกียรเอง ดังนั้น จึงอยู่ที่ท่านจะเลือกใช้ แค่เกียร 2 คือเปลี่ยนเกียรแบบออโตระหว่าง 1=>2 / หรือ D3 คือการเปลี่ยนเกียรแบบออโตระหว่าง 1=>2=>3 / หรือ D คือการเปลี่ยนเกียรแบบออโตระหว่าง 1=>2=>3=>Over Drive รถจะเปลี่ยนเกียรสูงขึ้นเองถ้าเราเร่งคันเร่ง และจะเปลี่ยนเป็นเกียรต่ำเองเมื่อเราเหยียบเบรก
การเลือกตำแหน่ง เกียรอยู่ที่ 1 รถจะไม่มีการเปลี่ยนเกียรใดๆ เป็นเกียร 1 ตลอด เพราะไม่มี step ให้เลื่อนสูงกว่า
3. การขับรถเกียรออโตแบบแมนนัวล ก็เหมือนเป็นเกียรธรรมดามี 4 จังหวะละครับ คือมีเกียร 1 => 2 =>3 (D3) => 4 (D)
จาก สภาพหยุดนิ่ง ก็เหยียบเบรกเลื่อนตำแหน่งเกียรไปที่เกียร 1 เร่งเครื่องออกไป ท่านจะลากรอบเครื่องยนต์ไปเท่าใดก็ตามใจท่าน อยากเปลี่ยนเกียรท่านก็ดันคันเกียรไปที่เลข 2 มันก็เป็นเกียร 2 เร่งคันเร่งจนพอใจอยากเปลี่ยนเป็นเกียร 3 ก็เลื่อนไป ตำแหน่ง D3 เร่งเครื่องต่อไป อยากเปลี่ยนเป็นเกียร 4 ก็เลื่อนไป ตำแหน่ง D ซึ่งเป็นเกียรสุดท้ายของเจ้า FD นี่ (หากเป็น ซูบารุ หรือAudi หรือบางยี่ห้ออาจมีเกียรออโต 6 เกียรก็ทำเหมือนกัน)
หากเบาเครื่องลง ลดความเร็วท่านก็เลื่อนจากเกียรสูงกว่าไปต่ำ เช่นจาก D ไป D3 (พอความเร็วลดลงระบบมันจะเปลี่ยนเกียรลงมาเองถ้าท่านเหยียบเบรก หรือลดความเร็วลง ) แต่ท่านอยากขับแบบธรรมดาให้สมบูรณ์แบบ ท่านก็เลื่อนคันเกียรตามมาเป็น เกียร 2 ( ต้องกดปุ่มด้วยนะ ไม่งั้นเลื่อนไม่ได้ )เป็น 1 ตามลำดับ
เห็นไหม ถ้าท่านเข้าใจว่าระบบเกียรถูกออกแบบมาให้ใช้งานอย่างไร ท่านก็จะขับรถสนุก ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุแน่นอน
ผม ลงแข่งทางพัทยาเซอร์กิต ควอเตอร์ไมล์ แรลลี่ ขับทางไกลเป็นพันๆ กิโล มามากว่ายี่สิบปี ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย เคยขับถนนธรรมดาความเร็วมากกว่า 200 ก็เคย
แต่ต้องรู้จักเกียร รู้จักระบบเบรก รู้จักฟังเสียงของรถเราว่า มันสนุก หรือมันร้องไห้ หากมันร้องไห้คือมีเสียงผิดปกติต้องเบา หยุดตรวจสอบก่อน
4 การเบรกแบบฉุกเฉิน ต้องใช้เกียรช่วย เบรกอย่างเดียวเอาไม่อยู่ครับ
ท่าน ต้องรู้และทำให้เป็นนิสัย หากขับรถเร็วตาท่านต้องมองไกล รับรู้ความเคลื่อนไหวข้างทาง อาจมีมอเตอร์ไซด์ สนัข อื่นๆ ต้องสำรวจขอบข้างทางว่าหากมีสภาพฉุกเฉินลงได้แค่ไหน ต้องคอยสำรวจครับ
การ เบรกให้มีประสิทธิภาพ ต้องใช้ทั้งระบบเบรก บวกกับใช้เกียร (เครื่องยนต์)เบรกด้วยครับ ไม่ต้องกลัวเกียรพัง ผมขับรถมาหลายปี ยังไม่เคยมีรถยี่ห้อไหนคันไหนเกียรพังเลย เวลาเบรกหากเบรกธรรมดาก็กดแป้นเบรกไปตามสภาพ ไม่มีปัญหาอะไร
แต่หากเบรก เอาไม่อยู่ ต้องทำอย่างรวดเร็วเปลี่ยนเกียรต่ำลงเช่น จาก D มา D3 ในขณะที่เหยียบเบรกอยู่ด้วย ระบบ ABS จะทำงานต่อเมื่อท่านกดเบรกสุดๆนะครับ หากกดปกติมันก็ไม่ทำงานนะ จะบอกให้รู้ สังเกตุง่ายหากระบบเบรก ABS ทำงาน จะได้ยินเสียงล้อดังกึก กึก กึก กึก ๆๆๆๆๆๆ คือระบบจะจับ ปล่อย ที่จานเบรก เพื่อป้องกันล้อล๊อกตายนะ ดังนั้นหากท่านเบรกไม่สุด กระทืบไม่แรงละก้อมี ABS ก้อเหมือนไม่มีละครับ
การใช้เกียรหรือเครื่องช่วยเบรกจึงมีความ สำคัญ ท่านสมารถเปลี่ยนเกียร (เชนเกียร)ได้เร็วเท่าไรขณะเบรกเมื่อรถท่านวิ่งด้วยความเร็วสูง จากความเร็ว 180 ที่เกียร D มี ABS ด้วย พอฉุกเฉินต้องหยุดรถให้ได้ไม่ไถล พวงมาลัยต้องนิ่งตรง และเบรกพร้อมเชนเกียรจาก D ไป D3 ความเร็วจะลดมาเหลือประมาณ 120 ในเสียววินาที และเปลี่ยนต่อมา 2 รถจะลงมาเหลือ60 และหยุดนิ่งได้อย่างดี แต่หากไม่อยู่ก็ดึงจนเกียร 1 เลยครับ พวงมาลัยตรง รับรองไม่คว่ำอยู่แน่นอน
(การฝึกให้ขับรถด้วยมือ เดียว มือขวาที่พวงมาลัย บวกเขาซ้ายช่วยถ้าจำเป็น มือซ้ายอยู่ที่คันเกียรตลอดไม่ว่าจะเป็นเกียรธรรมดาหรือเกียรออโต นะจะช่วยท่านได้ในการควบคุมรถ แต่ต้องฝึกให้ชำนาญนะ)
ทำไมผมต้องพูด เรื่องเบรก เพราะเบรกคือชีวิตครับ ขับรกหากระบบเบรกมีปัญหา คนขับเบรกไม่เป็นไม่รู้เทคนิค อันตรายครับ เวลาท่านลงเขาต้องใช้แน่นอน
เวลา ลงเขาท่านใช้เกียรถูกหรือไม่ สังเกตุได้ง่าย หากรถกำลังลงเขา ท่านใช้ตำแหน่ง D3 แล้ว แต่ว่าเมื่อท่านถอนเบาคันเร่งรถไม่ชลอความเร็วลง ยังคงวิ่งลงเขาเร็วขึ้นทั้งๆ ที่ถอนคันเร่งแล้ว แล้วท่านต้องมาเหยียบเบรกละก้อ ท่านใช้เกียรผิดครับ เกียรที่ท่านใช้สูงไป หากอยูที่ D3 ก็ลดลงมาเป็น 2 เลยครับ
และทุกครั้งที่ท่านถอนคันเร่ง เครื่องยนต์จะช่วยท่านเบรกรถให้ความเร็วลดลงอยู่แล้ว
5. ถ้ารถเกียรออโตติดหล่ม ทำไงดี
ก็ใช้เกียรตำแหน่งเกียร 1 ครับ ทำแบบเดียวกับเกียรธรรมดา จะเดินหน้า หรือถอย R ตามสภาพ
หากหล่มลึกก็ต้องหาไม้กระดานมาช่วย หรือหาสิ่งอื่นใดที่ทำให้ล้อหน้าตะกุยขึ้นได้
หากจมไปเลย ก็โทรหาผู้ช่วยที่มีระบบรอกลากดึงเป็นทางสุดท้าย
หากท่านทำจนชำนาญท่านก็จะขับมันอย่างสนุก อย่างลืมเราคือรถ รถคือเรา รถไปได้เราไปได้ครับท่าน
ด้วยความปราถนาดี
ที่มา : civicfdthailand.com
จากลิ้ง http://www.dekvanzclub.in.th/smf/?topic=9958.msg11484;topicseen#msg11484
Credit : DekvanzClub
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น